กล้วยไม้สวยสวยๆ กับความรื่นรมย์ของชีวิต
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
Latest topics
May 2024
MonTueWedThuFriSatSun
  12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

Calendar Calendar

ค้นหา
 
 

Display results as :
 


Rechercher Advanced Search


การระบุชื่อกล้วยไม้ (Identification)

Go down

การระบุชื่อกล้วยไม้ (Identification) Empty การระบุชื่อกล้วยไม้ (Identification)

ตั้งหัวข้อ  hopede Sun Sep 06, 2009 2:25 pm



ชื่อของกล้วยไม้มีความสำคัญมากในการสื่อสาร เพื่อให้เข้าใจตรงกันว่าเรากำลังพูดถึงกล้วยไม้ชนิดใด
และทำให้เราเข้าใจ หรือสามารถศึกษาต่อไปได้ว่ากล้วยไม้ชนิดที่ชื่อนั้นๆ มีลักษณะอย่างไร
ต้องการสภาพในการเจริญเติบโตอย่างไร มีอยู่ที่ไหน เป็นต้น ชื่อที่ใช้เรียกกล้วยไม้มีทั้งชื่อท้องถิ่น ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์

* ชื่อท้องถิ่น (vernacular name) เป็นชื่อที่ใช้เรียกกล้วยไม้ในแต่ละท้องถิ่น แต่ละประเทศ มักมีความสัมพันธ์กับภาษา วัฒนธรรม
และภูมิปัญญาของแต่ละท้องถิ่น มีข้อจำกัด คือ ไม่เป็นสากล เช่น ชื่อไทย สามารถใช้สื่อสารกันในหมู่คนไทย หรือคนที่รู้ภาษาไทยเท่านั้น
และมีข้อด้อยอีกอย่างหนึ่ง คือ แต่ละท้องถิ่นมีชื่อเรียกต้นไม้ชนิดเดียวกันที่ต่างกัน
เช่น ว่านเพชรหึง ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เรียกว่า กล้วยกา ในจังหวัดจันทบุรี เรียกว่า กะดำพะนาย ส่วนในจังหวัดแพร่ เรียกว่า ตับตาน เป็นต้น

* ชื่อสามัญ (common name) เป็นชื่อภาษาอังกฤษที่มีการใช้กันแพร่หลายมากขึ้น
แต่ยังไม่มีกฏเกณฑ์ที่แน่นอน และอาจมีหลายชื่อเรียกต้นไม้ชนิดเดียวกัน

* ชื่อพฤกษศาสตร์ หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ (botanical name or scientific name) เป็นชื่อที่นักพฤกษศาสตร์ตั้งขึ้น
เพื่อขจัดความสับสนในการเรียกชื่อพืช โดยพืชชนิดหนึ่ง จะมีชื่อที่ถูกต้องเพียงชื่อเดียวเท่านั้นที่ยอมรับกัน
และจะต้องถูกต้องตามหลักการตั้งชื่อพืชสากล (international botanical nomenclature)
เช่น เป็นภาษาลาติน ซึ่งเป็นภาษาที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง หรือมีการตั้งชื่อได้ถูกต้องก่อนชื่ออื่น
และได้มีการตีพิมพ์ในวาสารทางอนุกรมวิธาน ที่เป็นที่ยอมรับกันแล้ว เป็นต้น

ชื่อพฤกษศาสตร์เรียกชนิดกล้วยไม้ ประกอบด้วยชื่อสกุลนำหน้าและขึ้นต้นด้วยอักษรพิมพ์ใหญ่
เว้นวรรคและตามด้วยชื่อระบุชนิด โดยมีชื่อผู้ตั้งชื่อต่อท้ายสุด ชื่อสกุลและชื่อระบุชนิดต้องเขียนเป็นตัวเอน หรือขีดเส้นใต้ เช่น


Vanda coerulea Griff. ex Lindl.
ชื่อกล้วยไม้ทั้งชื่อท้องถิ่นและชื่อพฤกษศาสตร์ มักจะแฝงความหมายของลักษณะที่จำเพาะของกล้วยไม้
หรือบ่งบอกถึงความสัมพันธ์กับชนิดที่ใกล้เคียงกัน เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ บางครั้งบ่งบอกถึงสถานที่หรือแหล่งที่อยู่
ชื่อที่ใช้เรียกกล้วยไม้มีทั้งชื่อไทย ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ ดังตัวอย่างเช่น

ความหมายของชื่อท้องถิ่น
เอื้องจำปาน่าน - กล้วยไม้สกุลหวาย ดอกเหลือง มีถิ่นที่อยู่ที่ จ.น่าน
เข็มแสด และเข็มแดง - กล้วยไม้สกุลเข็ม ที่มีดอกสีเหลือง และดอกสีแดง
เอื้องคำ - กล้วยไม้สกุลหวายที่มีดอกสีเหลืองคล้ายทองคำ
ว่านจูงนาง - กล้วยไม้ดินที่มีหัวใต้ดินเรียงต่อกัน เชื่อว่าเป็นพืชกลุ่มว่านที่มีสรรพคุณทางด้านเสนห์

ความหมายของคำระบุชนิดของชื่อพฤกษศาสตร์

* เกี่ยวกับสี
alba สีขาว
aureus สีทอง
bicolor มีสองสี
flava สีเหลือง
fusca สีน้ำตาล
nigra สีดำ
viridis สีเขียว
violaceous สีม่วง

* เกี่ยวกับนิสัย
erecta ตั้งตรง
stans ตั้งตรง
pendulous ห้อยลง
repens เลื้อย
scandens ปีนป่าย
prostrate ทอดเลื้อย

* เกี่ยวกับขนาด รูปร่าง หรือลักษณะ
firma แข
gigantea ขนาดใหญ่
nana แคระ
punctatus มีจุดหรือต่อม
floribunda ดอกดก
lanceolata ใบรูปใบหอก
obovatum ใบรูปไข่
spinosa มีหนาม

* เกี่ยวกับกลิ่น
aromaticus กลิ่นหอม
fragrans กลิ่นหอม
suaveolens กลิ่นหอม
foetida กลิ่นเหม็น

* เกี่ยวกับสภาพบริเวณที่ขึ้นอยู่
aquatica ในน้ำ
amphibious ครึ่งบกครึ่งน้ำ
arvensis สนาม
arenicola ทราย

*เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์
edulcis กินได้
esculentus กินได้
hortensis ปลูกเป็นไม้ประดับ
sativus ปลูกเป็นอาหาร
venenatus เป็นพิษ

* แสดงชื่อสถานที่ มักลงท้ายด้วย–ensis, -(a)nus, inus หรือ –icus
indica อินเดีย
thailandicus ไทย
siamensis ไทย
japonica ญี่ปุ่น

* คำที่มาจากชื่อบุคคล
craibii C.W.Craib?
kerrii A.F.G.Kerr
smitinandii Tem Smitinand

คำระบุชนิดเหล่านี้ เราจะพบบ่อยในชื่อวิทยาศาสตร์ จะมีคำลงท้ายที่ต่างกัน
แต่ความหมายไม่เปลี่ยนแปลง เนื่องจากภาษาลาติน ที่เรานำมาใช้ในการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ เป็นภาษาที่มีเพศ
ซึ่งคำระบุชนิดนี้ต้องมีเพศให้สอดคล้องกับเพศของชื่อสกุล อาจทำให้เรางงๆ ในตอนแรกเริ่ม
แต่ถ้าจับจุดได้ โดยจำเอาคำหลัก มาใช้เป็นเทคนิคในการจำชื่อพืชก็จะจำได้ง่ายขึ้น
เช่น alba albus แปลว่าสีขาว ต้องมีอะไรสักอย่างในพืชชนิดนั้นที่มีสีขาว ที่นักพฤกษศาสตร์ต้องการสื่อให้เราเห็น

ต้องการดาวน์โหลดบทความนี้เก็บไว้ คลิกเลยครับ

Download

อ้างอิง http://www.qsbg.org

hopede

จำนวนข้อความ : 9
Join date : 06/09/2009

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ